กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดการสัมมนาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร และโรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 วัน ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการดำเนินกิจกรรมเวที่ “การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล” พร้อมด้วยนายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดในประเด็นการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้านต่างๆของส่งเสริมการเกษตร อาทิ การพัฒนาด้านการจัดการด้านบุคลากร ด้านการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารขององค์กร เป็นต้น ซึ่งเปิดโอกาสให้เกษตรตำบล บุคลากรรุ่นใหม่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ตัวแทนจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ ร่วมระดมสมองและแสดงความคิดเห็นเติมความรู้  การประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรสู่การเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มีคุณค่า  เน้นการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันสถานการณ์ให้คำตอบเกษตรกรได้ มีความเข้าใจเกษตรกรมากขึ้น ศึกษาพื้นที่รับผิดชอบอย่างรอบคอบ ใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมการเกษตรด้วยความเชื่อมั่นและมั่นใจ เพราะคุณคือเกษตรตำบล คนสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร

กิจกรรมที่ 2 การมอบนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพ   การดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า    
กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักและต้องอาศัยความทุ่มเทและเสียสละ จึงขอขอบคุณพวกเราทุกคนมา ณ โอกาสนี้ด้วย โดยเฉพาะนักส่งเสริมการเกษตร ในระดับตำบล หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “เกษตรตำบล” ซึ่งเป็น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด ทำให้ผมได้ทราบถึงสถานการณ์การทำงาน   ในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรต้องมีเข็มทิศที่ดี หรือผู้นำที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิต ทัศนะคติการทำงาน ของนักส่งเสริมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สนับสนุนการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ และยังต้องอาศัยการใช้เทคโนโลยีหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้ำหมำยสำคัญคือ “เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน”